เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะมีการเสื่อมถอย โดยหนึ่งในปัญหาเหล่านั้นที่เจอก็คือ ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในผู้สูงอายุ ซึ่งมีทั้งปัญหาภาวะขาดสารอาหารและภาวะอ้วน ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบ เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ นำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้ เช่น ร่างกายผอมแบบแคระแกร็น เกิดปัญหาสายตา โรคเบาหวานและโรคหัวใจ และยังส่งผลให้เกิดความพิการได้ ดังนั้นผู้ที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ จึงต้องคำนึงถึงภาวะทุพโภชนาการที่อาจซ่อนเร้นอยู่และอาจเป็นพื้นฐานของปัญหาสุขภาพที่ผู้สูงอายุกำลังประสบอยู่ได้


ทุพโภชนาการ คืออะไร

ทุพโภชนาการ มันมีอยู่ 2 ภาวะ ได้แก่

  1. ภาวะขาดโภชนาการ
  2. ภาวะโภชนาการเกิน ซึ่งก็คือน้ำหนักตัวเยอะ หรืออ้วนนั่นเอง

แต่ที่พบบ่อยในประเทศไทยมักจะพบการขาดโภชนาการเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเราต้องไล่ดูสาเหตุไปตั้งแต่ระบบทางเดินอาหาร เช่น ใส่ฟันปลอมแล้วสบกันไม่ดี ลิ้นรับรสชาติไม่ได้ การกลืนติด กลืนลำบาก มีภาวะโรคบางอย่างซ่อนอยู่ เช่น โรคมะเร็ง ภาวะมืออ่อนแรง จับช้อนไม่ได้ จับแล้วไม่ถนัด ก็ทำให้คนไข้ไม่รู้สึกอยากกินอาหาร เนื่องจากหยิบจับแล้วไม่สะดวก รวมถึงยาที่กินด้วย หากต้องกินยาหลายตัวก็จะทำให้คนไข้รู้สึกเบื่ออาหารได้


สังเกตอาการทุพโภชนาการ

วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ดูการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว หรือถ้าบ้านไหนไม่มีเครื่องชั่งน้ำหนักให้สังเกตง่ายๆ โดยดูจากชุดที่สวมใส่ว่าหลวมหรือแน่นไปจากเดิมไหม หรือบางคนดูเทียบจากรูปบัตรประชาชนที่เคยถ่าย เพราะบางคนอยู่ด้วยกันนานจะสังเกตได้ยากว่าเปลี่ยนแปลงไปทางอ้วนหรือผอม ยิ่งคนไข้มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว ยิ่งต้องรีบหาสาเหตุ


ผลกระทบจากทุพโภชนาการในผู้สูงอายุ

ทั้งภาวะโภชนาการขาด หรือเกิน ล้วนส่งผลต่อสุขภาพทั้งคู่ ทุพโภชนาการเกิน ส่งผลเสียโดยเฉพาะโรคหัวใจ หลอดเลือดสมองต่างๆ รวมถึงอัมพฤกษ์ อัมพาตต่างๆ ส่วนโภชนาการขาด อาจจะมีปัญหาซูบผอม กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ซึ่งก็เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มได้

ภาวะทุพโภชนาการ จริงๆ ต้องแก้ที่สาเหตุ ซึ่งในผู้สูงอายุมักจะมีหลายสาเหตุและต้องแก้ให้ครบทุกสาเหตุ ถ้าแก้ไม่ครบ ภาวะทุพโภชนาการมักจะไม่หาย การใช้อาหารเสริมเพื่อบำรุงร่างกายต่างๆ จริงๆ มักไม่เกิดประโยชน์ มักเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ดังนั้นให้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด


การควบคุมน้ำหนักของผู้สูงอายุ

การควบคุมน้ำหนัก สำหรับผู้สูงอายุที่น้ำหนักตัวเยอะ การควบคุมน้ำหนักมีความจำเป็น ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย Intermittent Fasting (IF) เป็นการลดน้ำหนักที่กำลังนิยมในปัจจุบัน จริงๆ IF มีหลายวิธี แต่ก็มีบางวิธีที่ทำได้ และเหมาะสมในผู้สูงอายุแต่ละราย แต่ก็จะมีข้อควรระวัง เช่น ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ถ้าจะเริ่มทำ IF ควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าเราควรจะเลือก IF วิธีไหน เลือกเวลาอย่างไร โดยจะต้องเปรียบเทียบกับยาที่กินอยู่เป็นประจำด้วย เพราะเรื่องอาหารกับยาเบาหวานส่งผลต่อกันทางตรง อาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำได้ ซึ่งทำให้เกิดอันตราย แต่ทั้งนี้ผู้สูงอายุก็สามารถทำ IF ได้ ภายใต้การดูแลของแพทย์



ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

บทความทางการแพทย์บริการทางการแพทย์ด้านการดูแลผู้สูงอายุ, ศูนย์อายุรกรรม

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย