ปวดฝ่าเท้า ส้นเท้าจากโรครองช้ำ รักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock Wave)
ศูนย์ : ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
บทความโดย : พญ. พรหทัย งามวงศ์สงวน
เพราะการเดินคือกิจวัตรประจำวันของทุกคน หากจู่ๆ เท้าข้างใดข้างหนึ่งเกิดอาการเจ็บขึ้นมาเราจะเดินอย่างปกติได้อย่างไร? โดยการเจ็บเท้านั้นอาจเกิดได้หลากหลายสาเหตุ โดยภาวะหนึ่งที่พบได้บ่อยสุด โรครองช้ำ ซึ่งจะมีอาการเจ็บบริเวณส้นเท้าข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง หากปล่อยไว้อาจทำให้เดินไม่สะดวกได้ แต่อาการเหล่านี้สามารถรักษาได้ด้วยการใช้คลื่นกระแทก (Shock Wave) มีความปลอดภัยสูง มีประสิทธิผล และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น
โรครองช้ำเป็นอย่างไร
โรครองช้ำ หรือ โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ คือ การอักเสบของเอ็นที่ยึดระหว่างส้นเท้าและกระดูกนิ้วเท้า (Plantar Fascia) โดยอาการที่พบบ่อยคือ มีอาการปวดส้นเท้า หรือส่วนโค้งใกล้ส้นเท้า ซึ่งอาการเจ็บนี้มักเป็นมากช่วงเช้า หลังตื่นนอน เมื่อก้าวเท้าแรก แต่บางครั้งอาจปวดทั้งวัน หากยืนหรือเดินนานๆ
สาเหตุการเกิดโรครองช้ำ
โดยสาเหตุของการเกิดโรครองช้ำนั้นมาจากปัจจัยหลายๆ อย่าง ดังนี้
- ผู้ที่มีฝ่าเท้าแบน หรือส่วนโค้งของเท้ามากผิดปกติ ทำให้เกิดการรับน้ำหนักที่ผิดปกติใต้ฝ่าเท้า
- การยืนหรือเดินนานมากเกินไป
- นักกีฬาที่ต้องใช้เท้ามากๆ หรือเพิ่มระยะวิ่งกะทันหัน
- การมีน้ำหนักตัวมากเกินไป หรือมีน้ำหนักซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหนึ่งๆ ทำให้ฝ่าเท้าต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติ
- ปัจจัยอื่นๆ เช่น การตึงของเอ็นร้อยหวาย เป็นต้น
- บริเวณที่มีเนื้องอก หรือการติดเชื้อของผิวหนัง
- บริเวณที่เพิ่งฉีดยาสเตียรอยด์มาไม่เกิน 6 สัปดาห์
- ผู้ที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตัน หรือเลือดออกง่ายกว่าปกติ
- หญิงตั้งครรภ์
- เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี (ยกเว้นการรักษาโรคบางโรค เช่น osgood - schlatter disease) อย่างไรก็ตาม แพทย์ผู้ใช้การรักษาจะพิจารณาการรักษาด้วย Shock Wave ตามความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายเป็นรายๆ ไป
- การใช้แผ่นรองส้นเท้าที่เหมาะสมกับรูปฝ่าเท้าของแต่ละคน
- ออกกำลังกายด้วยการยืดกล้ามเนื้อน่อง และยืดพังผืดใต้ฝ่าเท้าบ่อย ๆ
- ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป เพื่อช่วยลดการรับน้ำหนักของ เช่น ใต้ฝ่าเท้า
- ประคบด้วยความร้อน หรือความในรายที่อักเสบเฉียบพลัน
- การรักษาด้วยยา
การรักษารองช้ำด้วยคลื่นกระแทก (Shock Wave)
การรักษาโรครองช้ำ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต การรักษาด้วยการใช้ยา การปรับรองเท้าหรือใช้อุปกรณ์เสริม การรักษาด้วยเครื่องมือทางกายภาพ เป็นต้น โดยในบางรายแพทย์จะพิจารณาใช้การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock Wave) เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ลดการอักเสบและลดปวด
กระบวนการรักษาโรครองช้ำด้วยคลื่นกระแทก (Shockwave) นั้น มีหลักการทำงาน คือ การส่งผ่านคลื่นกระแทก (Shockwave) เข้าไปในบริเวณที่ปวด หรือที่มีการอักเสบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการบาดเจ็บใหม่เล็กๆ ที่ไม่เป็นอันตราย (Re-Injuries) ในบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่มีปัญหา จากนั้นร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อใหม่ (Re-Healing) นอกจากนี้ Shockwave ยังมีกลไกช่วยลดอาการปวดได้ โดยลดปริมาณสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณปวดและกระตุ้นให้หลั่งสารลดปวด จึงเห็นผลได้ทันทีหลังรักษา (ในกรณีที่เป็นในระดับความรุนแรงเล็กน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ) มักใช้ประมาณ 1000 – 3000 นัด ต่อ 1 จุดการรักษา
จากนั้นควรเว้นระยะห่างการรักษาครั้งถัดไปประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้เวลาร่างกายซ่อมแซมการอักเสบเรื้อรังที่เป็นอยู่โดยธรรมชาติ โดยจำนวนครั้งในการรักษาทั้งหมดมักอยู่ที่ 6-8 ครั้งแล้วแต่ความรุนแรงของอาการ
อาการที่อาจเกิดขึ้นหลังการรักษาด้วยคลื่นกระแทก
หลังการรักษาด้วยคลื่นกระแทกผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกระบมเล็กน้อยในบริเวณที่ทำการรักษา แต่อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้นใน 1-2 วัน สามารถประคบเย็นและรับประทานยาร่วมด้วยเพื่อลดอาการข้างเคียงดังกล่าวได้
ข้อควรระวังและ/หรือข้อห้ามในการรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock Wave)
คำแนะนำเพิ่มเติมในการรักษาโรครองช้ำ
นอกจากการรักษาอาการปวดฝ่าเท้าจากโรครองช้ำด้วยคลื่นกระแทก (Shock Wave) แล้ว ผู้ป่วยควรรักษาสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดโรครองช้ำร่วมด้วย เช่น
การรักษาโดยใช้คลื่นกระแทกเป็นทางเลือกที่ดีทางเลือกหนึ่งในการรักษาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองด้วยวิธีอื่นมาแล้วแต่ไม่ได้ผลและไม่อยากผ่าตัด โดยมีประสิทธิผลในการรักษาที่ดี ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องหยุดการลงน้ำหนักในขาข้างนั้นๆ และช่วยเพิ่มโอกาสในการกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงปกติ
ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
บทความทางการแพทย์ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู