ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ให้การฟื้นฟูบำบัดด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพที่ครบถ้วนตามมาตรฐานสากลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัดโดยให้บริการด้านการรักษาดังนี้
การบริการทางการแพทย์
ระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
- ลดอาการปวด / การอักเสบของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกและข้อต่อ โดยการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดที่มีมาตรฐาน และทันสมัย ในภาวะต่าง ๆ เช่น
- ปวดคอ ปวดหลัง ปวดหัวไหล่ ปวดเข่า
- ปวดกล้ามเนื้อจาก office syndrome
- หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณคอ และหลังส่วนเอว ปวดคอร้าวลงแขน ปวดหลังร้าวลงขา
- นิ้วล้อค เอ็นอักเสบบริเวณข้อศอก ฝ่าเท้า ฯลฯ
- ปวดข้อจากภาวะข้อเสื่อม และข้ออักเสบ
- ฝังเข็มตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบัน (Dry Needling) เพื่อลดอาการปวดตึงกล้ามเนื้อโดยแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู
- รักษาอาการข้อยึดติดแข็ง เช่น ไหล่ติด โดยการขยับหรือเคลื่อนข้อต่อ ร่วมกับการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด
- ฟื้นฟูผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกและข้อทางออร์โธปิดิกส์ ทั้งช่วงก่อนและหลังการผ่าตัด เช่น ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าหรือข้อสะโพก
- ฟื้นฟูการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา แนะนำการออกกำลังกายกล้ามเนื้อที่ถูกต้องโดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มเติม และการฝึกเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- การจัดหาอุปกรณ์ช่วยพยุงที่เหมาะสมในการเคลื่อนไหว เช่น รวมถึงการฝึกใช้อุปกรณ์อย่างถูกต้อง และให้ความรู้ในการดูแลตนเองเบื้องต้นแก่ผู้ป่วย
ระบบประสาท
ปัญหาหลัก ๆ ของผู้ป่วยที่มีภาวะโรคเกี่ยวกับระบบประสาท คือภาวะอ่อนแรง (Paralysis) และอาจสูญเสียความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ที่เคยทำเองได้ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด และนักกิจกรรมบำบัด จะมีการวางแผนการรักษาร่วมกันเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวและประกอบกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้อย่างเต็มขีดความสามารถ
- ฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหาการอ่อนแรง ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตครึ่งซีก ทั้งจากภาวะสมองขาดเลือด และจากอุบัติเหตุต่าง ๆ
- โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน
- การบาดเจ็บของเส้นประสาทไขสันหลัง
ระบบทางเดินหายใจ
ให้การฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ดังต่อไปนี้
- ใช้เทคนิคการระบายเสมหะทางกายภาพบำบัดที่เหมาะสม เช่นการเคาะปอด การสั่นปอด การจัดท่าเพื่อช่วยระบายเสมหะออกจากปอด
- การฝึกหายใจที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันและลดภาวะปอดแฟบในโรคต่าง ๆ
- การใช้อุปกรณ์เสริม เช่น intensive spirometer เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของปอด
- ให้คำแนะนำการออกกำลังกายที่เหมาะสมและปลอดภัย
โดยกลุ่มผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ที่สามารถเข้ารับบริการ ได้แก่
- ผู้ป่วยปอดอักเสบ ปอดติดเชื้อ และผู้ป่วยหลอดลมอักเสบ ซึ่งมักเกิดในเด็กและผู้สูงอายุ
- ผู้ป่วยถุงลมโป่งพอง
- ผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัดโรคทางระบบทรวงอก และหน้าท้อง เพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจหลังผ่าตัด
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ให้โปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสภาพ และคำแนะนำเกี่ยวกับการทำกิจวัตรประจำวันอย่างปลอดภัย ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจแต่ละท่าน ซึ่งมีความรุนแรงของตัวโรคและพื้นฐานสภาพร่างกายแตกต่างกัน
- การฟื้นฟูผู้ป่วยหลังจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- การฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ หรือ การทำบอลลูน / สวนขยายหลอดเลือดหัวใจ
กายภาพบำบัดในคุณแม่หลังคลอด
- ให้คำแนะนำคุณแม่หลังคลอดด้านการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี
- แนะนำท่าทางที่เหมาะสมเพื่อช่วยป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อ
- การใช้เครื่องมือและการนวดเพื่อช่วยกระตุ้นน้ำนม ลดการคั่งค้างของน้ำนม ป้องกันไม่ให้เต้านมอักเสบ
บริการด้านกิจกรรมบำบัด
ให้บริการแก่ผู้รับบริการทั้ง 4 ฝ่ายดังนี้
- ผู้รับบริการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
- ผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น อยู่ไม่นิ่ง
- ผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะออทิสติก
- ผู้ป่วยเด็กที่มีความบกพร่องด้านการเรียนรู้ ความบกพร่องทางสติปัญญา และภาวะสมองพิการ (Cerebral Palsy)
- ผู้รับบริการที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย
- กลุ่มโรคทางระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง การได้รับบาดเจ็บทางสมองจากอุบัติเหตุต่าง ๆ
- กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณแขนและมือ ซึ่งส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวัน และการทำกิจกรรมด้วยมือที่มีความละเอียด เช่น กลัดกระดุม เขียนหนังสือ หยิบจับสิ่งของชิ้นเล็ก
- ภาวะกลืนลำบากสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไอสำลักขณะกลืนน้ำและ/หรืออาหาร กลืนลำบาก กลืนไม่ได้ รับประทานแล้วมีภาวะปอดติดเชื้อซ้ำ ๆ จะได้รับการประเมินโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ร่วมกับนักกิจกรรมบำบัด เพื่อพิจารณาความปลอดภัยในการรับประทาน , ปรับลักษณะอาหารและท่าทางในการรับประทานเพื่อช่วยลดการสำลัก , รับโปรแกรมฝึกกลืนเฉพาะตัวในแต่ละราย ในกลุ่มผู้ป่วยต่าง ๆ ดังนี้
- ผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากจากโรคทางระบบประสาทและสมอง เช่น เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก , โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงต่าง ๆ
- ผู้ป่วยสูงอายุกลืนลำบาก จากความเสื่อมของกลไกการกลืนตามช่วงอายุ และจากภาวะอัลไซเมอร์
- ผู้ป่วยกลืนลำบากเนื่องจากเนื้องอกบริเวณโพรงจมูก ช่องปาก และคอ ที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดและฉายรังสี
- ผู้รับบริการสูงอายุ
ผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม สาเหตุเนื่องมาจากโรคสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง อุบัติเหตุ เป็นต้น สามารถเข้ารับการฝึกทางกิจกรรมบำบัดเพื่อฟื้นฟูภาวะ ดังต่อไปนี้
- ภาวะการรับความรู้สึกได้ช้าหรือลดลง
- ภาวะการรับรู้และความเข้าใจเสื่อมถอย
- ภาวะช่วยเหลือตนเองได้ลดลง และความยากลำบากในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน
- ผู้รับบริการที่มีความบกพร่องทางด้านจิตใจและอารมณ์
- ผู้ที่สูญเสียความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน
- ผู้ที่สูญเสียด้านการทำงาน และทักษะสังคม เนื่องมาจากโรคหรือความผิดปกติอื่น ๆ
เทคโนโลยีทางการแพทย์
- เครื่องเลเซอร์กำลังสูง (high power laser therapy) แสงเลเซอร์กำลังสูงให้พลังงานแก่เนื้อเยื่อ เพื่อช่วยในการฟื้นฟูซ่อมแซมเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่อักเสบ, รักษาแผลกดทับ , ช่วยลดปวด (ทั้งระยะเฉียบพลัน และเรื้อรัง) เช่น ในผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โดยสามารถเห็นผลการรักษาได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้
- การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock wave therapy) ใช้ลดอาการปวด โดยเฉพาะในระยะเกิน 1 สัปดาห์ขึ้นไป ทั้งอาการปวดจากออฟฟิศซินโดรม และการอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณต่างๆ เช่น โรครองช้ำ เอ็นข้อศอกอักเสบ เป็นต้น
- เครื่องดึงหลังและเครื่องดึงคอ (Pelvic and Cervical Traction) เป็นเครื่องมือเพื่อบรรเทาอาการเนื่องมาจากเส้นประสาทถูกกดทับ จากการแคบลงของช่องว่างระหว่างกระดูก หรือเกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูก ที่บริเวณกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลังส่วนเอว
- เครื่องอัลตราซาวด์ร่วมกับกระแสไฟฟ้า (ultrasound combined) เป็นการใช้คลื่นความร้อนลึก ร่วมกับกระแสไฟสำหรับลดปวด ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่เกร็ง และลดการอักเสบ
- เครื่องให้ความร้อนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าช่วงสั้น (Short Wave Diathermy) เพื่อลดอาการปวดของกระดูกและข้อต่อ
- เครื่องลดปวดด้วยกระแสไฟฟ้า (TENs หรือ Transcutaneous Electrical Stimulation) เป็นการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นผ่านเส้นประสาทสัมผัสทางผิวหนัง เพื่อลดความเจ็บปวด อาการชา หรือความรู้สึกที่ผิดปกติไปจากเดิม ด้วยการส่งผ่านกระแสไฟฟ้าไปลดปวดผ่านการกระตุ้นเส้นประสาทที่อยู่บริเวณผิวหนังชั้นตื้น
- เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า (Electrical stimulation) เป็นการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อเพื่อหวังผลในการรักษาที่แตกต่างกันตามสภาวะของการได้รับบาดเจ็บของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ เพื่อการชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ เพื่อสอนการทำงานของกล้ามเนื้อใหม่ ในกรณีที่มีการเคลื่อนย้ายเส้นเอ็นไปยังที่ตำแหน่งใหม่
- การตรวจวินิจฉัยเส้นประสาท (NCV; Nerve Conduction Velocity / NCS; Nerve Conduction Study) และคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG; Electromyography) ตรวจการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและพยากรณ์โรค สำหรับภาวะการบาดเจ็บหรือการอักเสบของเส้นประสาท และโรคของกล้ามเนื้อ โดยแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู
เวลาทำการ
เปิดให้บริการทุกวัน จันทร์ - ศุกร์ 08.00-19.00 น. และ เสาร์ - อาทิตย์ 08.00-17.00 น.
สถานที่ตั้ง
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลนครธน ชั้น 11
นัดหมายและติดต่อสอบถามรายละเอียด
โทร 0-2450-9999 ต่อ 2112-2113