การฝึกหายใจก่อนการผ่าตัดช่วยลดภาวะแทรกซ้อน

ศูนย์ : ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

บทความโดย : พญ. พรพรรณ พานเพียรศิลป์

การฝึกหายใจก่อนการผ่าตัด

ภาวะแทรกซ้อนหลังจากผ่าตัดจะทำให้ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาที่ยาวนานขึ้น และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนทางระบบทางเดินหายใจ ถือว่าเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิต จึงควรได้รับการฝึกหายใจก่อนการผ่าตัด เพราะหากผู้ป่วยหายใจเข้าแล้วปวดบริเวณแผลผ่าตัด ทำให้หายใจรับออกซิเจนได้ไม่เต็มที่ อาจส่งผลเสียตามมา หรือ เกิดภาวะปอดติดเชื้อได้ ฉะนั้น การฝึกหายใจก่อนการผ่าตัด เพื่อเพิ่มศักยภาพปอด ฝึกไอหรือการกระแอมอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด และบรรเทาอาการเจ็บปวดที่เกิดหลังผ่าตัดได้


ใครที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางระบบหายใจ

  • ผู้ที่มีการผ่าตัดที่ใช้ระยะเวลานาน การผ่าตัดบริเวณช่องท้อง การผ่าตัดในช่องอก
  • ผู้ที่มีการวางยาสลบ เช่น ระยะเวลาในการใช้เครื่องช่วยหายใจนาน การวางยา สลบแบบทั่วร่าง การใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นต้น
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวโดยเฉพาะโรคทางปอด และหัวใจ อายุมาก สูบบุหรี่ เป็นต้น

> กลับสารบัญ


ประโยชน์ของการฝึกหายใจก่อนการผ่าตัด

  1. ช่วยลดภาวะการแทรกซ้อนทางปอดหลังผ่าตัด
  2. เพิ่มการระบายอากาศและการแลกเปลี่ยนก๊าซภายในปอด ช่วยป้องกันภาวะปอดแฟบ
  3. เพิ่มประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อในการหายใจ
  4. ทำให้ใช้พลังงานในการหายใจน้อยลง
  5. ช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย
  6. ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น
  7. ลดระยะเวลาในการพักฟื้นในโรงพยาบาล
  8. การฝึกไอที่ถูกวิธีช่วยขับเสมหะ ไม่ให้อุดตันทางเดินหายใจ ลดโอกาสการติดเชื้อ

> กลับสารบัญ


ปรึกษาแพทย์ออนไลน์

วิธีการฝึกหายใจก่อนการผ่าตัด

การฝึกหายใจก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกวิธีหายใจเข้าลึกเต็มที่ เช่น

  1. การหายใจโดยใช้กระบังลม โดยให้อยู่ในท่าที่สบาย วางบริเวณเหนือสะดือเล็กน้อย ส่วนมืออีกข้างวางหน้าอกของตัวเอง ออกแรงกดเล็กน้อย จากนั้นทำการหายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ ลึก ๆ ให้ท้องป่อง หายใจออกทางปากช้า ๆ ท้องยุบ โดยสังเกตว่ามือที่วางอยู่บนหน้าท้องขยับขึ้น และลง ตามการหายใจ ในขณะที่ทรวงอกไม่ขยับ สังเกตว่ามือที่วางบนทรวงอกจะนิ่ง ทำชุดละ 5-10 ครั้ง
  2. การหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อช่วงอกส่วนหน้า โดยให้ผู้ป่วยนอนราบและวางมือบนบริเวณกระดูกอกแล้วกดน้ำหนักลง จากนั้นหายใจเข้าช้า ๆ โดยให้ทรวงอกยกมือที่กดอยู่ขึ้น เมื่อใช้กล้ามเนื้อเต็มที่ทรวงอกจะยกมือขึ้นสูงเต็มที่ ให้กลั้นไว้ 3 วินาที จากนั้นให้ผ่อนลมหายใจทางการห่อปาก ไม่เบ่ง และไม่หายใจออกจนสุดปอด เช่นเดิม
  3. การหายใจโดยใช้กระบังลมและช่วงอกส่วนหน้า โดยหายใจเข้า ทั้งท้องและหน้าอกจะขยายขึ้นพร้อมๆ กัน ละเมื่อผ่อนลมหายใจออก ก็จะยบลงมา สู่ระดับเดิม

> กลับสารบัญ


การฝึกไอหรือการกระแอม

  1. หายใจเช้าโดยสูดลมเข้าทางจมูกจนสุด หายใจให้บริเวณหน้าท้องขยับโตขึ้น ไม่กลั้นหายใจ จากนั้นค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ
  2. หายใจลึกไปเรื่อย ๆ ประมาณ 2-3 ครั้ง
  3. เมื่อหายใจลึกครั้งสุดท้าย ให้ค้างไว้ประมาณ 2-3 วินาที จากนั้นทำการหายใจออกโดยเบ่ง ไอขับเสมหะออกมา

> กลับสารบัญ



ทั้งนี้การฝึกหายใจก่อนการผ่าตัด เป็นสิ่งสำคัญมากเนื่องจากสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดได้ ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับการฝึกและการดูแลจากแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และนักกายภาพบำบัด ในทุกขั้นตอน เพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้สามารถปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลจากแพทย์ออนไลน์ได้เลย



ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย





Share :

สินค้าในตระกร้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข, กรุณาตรวจสอบจำนวน
จัดการตระกร้าสินค้า

เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย