โรคปอดอักเสบและไอพีดี ภัยร้ายจากเชื้อนิวโมคอคคัส
ศูนย์ : ศูนย์อายุรกรรม
บทความโดย : พญ. สุธาสินี กลั่นแก้ว
เชื้อนิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae) เป็นเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดปอดอักเสบจากชุมชนมากที่สุด อุบัติการณ์ในประเทศไทยพบได้ประมาณ 8-11 % สามารถพบปอดติดเชื้อร่วมกับติดเชื้อในกระแสเลือดได้ 58-81% ซึ่งมีอัตราตายสูงถึง 25% ความรุนแรงและ อัตราตายจะสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น
เชื้อนี้พบได้ ในโพรงจมูกและลำคอของมนุษย์ สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คน โดยผ่านระบบทางเดินหายใจ เช่น การไอ จาม และสัมผัสละอองเสมหะของผู้ป่วย หรือ พาหะ การเกิดโรคขึ้นกับปริมาณเชื้อที่ได้รับ และปัจจัยของผู้ป่วยพบว่าเชื้อนี้ดื้อยามากขึ้น ทำให้การรักษาซับซ้อน ค่าใช้จ่ายสูง และเป็นอันตรายต่อชีวิตมากขึ้นปัจจุบันมีการค้นพบสายพันธุ์มากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่พบเป็นสาเหตุสำคัญในการก่อโรคประมาณ 20-30 สายพันธุ์
สารบัญ
อาการเมื่อมีการติดเชื้อนิวโมคอคคัส
- ไข้ ไอเสมหะ เหนื่อย หายใจเจ็บหน้าอก ซึ่งเป็นอาการของปอดอักเสบ ถ้ามีการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วม อาจทำให้มีการติดเชื้อที่อวัยวะอื่น เช่น ข้ออักเสบติดเชื้อ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจได้หลังติดเชื้อปอดอักเสบ ช่วงภาวะออกซิเจนต่ำหรือการอักเสบในร่างกาย
- ในผู้สูงอายุมากกว่า 70 ปี อาจมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่ม เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และโรคเส้นลือดสมองตีบ โดย 30% ในจำนวนนี้ไม่จำเป็นต้องมีโรคเหล่านี้มาก่อน
ใครที่มีปัจจัย ‘เสี่ยงสูง’ ต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัส?
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจส่งผลให้ ตับ ทำงานหนักมากขึ้นเป็นพิเศษในการกำจัดของเสีย หลังปาร์ตี้มาพักตับ ดูแลฟื้นฟู เริ่มต้นง่าย ๆ เพียง
- ผู้สูงอายุและเด็กเล็ก เนื่องจากภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สมบูรณ์เท่ากับคนในวัยหนุ่มสาว
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง อาทิ โรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคตับ โรคไต และโรคเบาหวาน เป็นต้น
- ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ อาทิ ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ที่ติดเชื้อโรคมะเร็ง ผู้ที่ต้องฟอกไตเป็นประจำ ผู้ป่วยที่ไม่มีม้าม รวมถึงผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น
- ผู้สูบบุหรี่
วิธีการป้องกันให้ห่างไกลจากเชื้อนิวโมคอคคัส
- รักษาสุขอนามัยที่ดี ล้างมือบ่อยๆ ปิดปากปิดจมูกทุกครั้งที่จามหรือไอ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัส คลุกคลีกับผู้ป่วย และการเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่มีคนแออัด
- ปรึกษาแพทย์เรื่องการเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีน
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส
PCV 13 (Pneumococcal conjugated vaccine) ครอบคลุมสายพันธุ์ ได้ 13 serotypes เหมาะสำหรับการฉีดในเด็กเล็ก หรือในผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูง ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อชนิดลุกลามได้ 75% และการติดเชื้อไม่ลุกลาม 45% สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย กำหนดข้อบ่งชี้การให้ pneumococcal vaccine ในปี พ.ศ. 2561 ดังนี้
PCV 13
- อายุ > 65 ปี
- อายุ 2-65 ปี ที่มีความเสี่ยง เช่น
- มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวานที่คุมน้ำตาลไม่ดี โรคหัวใจวาย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคตับแข็ง โรคไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีการรั่วของน้ำไขสันหลัง
- สูบบุหรี่ประจำ
- ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่นได้ยา steroid ยากดภูมิ โรคมะเร็ง
- ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือไขกระดูก
- ไม่มีม้ามหรือม้ามทำงานบกพร่อง เช่น กลุ่มธาลัสซีเมีย
เนื่องจากการศึกษาในประเทศไทย ระหว่าง 2555-2560 อัตราการครอบคลุมโดยวัคซีน PCV 13 อยู่ที่ ร้อยละ 60.2% ในกรณีที่ต้องการเพิ่มความครอบคลุมสายพันธุ์ในการป้องกันโรคเพิ่มขึ้นสามารถใช้ PSSV 23 ฉีดหลัง PCV13 เป็นเวลา 1 ปี อนาคตถ้ามี PCV ครอบคลุมสายพันธุ์มากขึ้นอาจพิจารณาฉีด เข็มเดียวได้ เช่น PCV 20 ใน สหรัฐอเมริกาซึ่งขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มี
แม้การติดเชื้อนิวโมคอคคัส จะสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ แต่ในปัจจุบันพบว่าการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างแพร่หลายนั้นส่งผลให้เชื้อนิวโมคอคคัสมีการดื้อยาเพิ่มมากขึ้น ทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากและซับซ้อนขึ้น ดังนั้นการป้องกันก่อนการติดเชื้อจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ
ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
บทความทางการแพทย์ศูนย์อายุรกรรม