ตรวจมะเร็งมีวิธีการใดบ้าง ตรวจเจอเร็วมีโอกาสหายก่อนลุกลาม
ศูนย์ : ศูนย์มะเร็ง
บทความโดย : นพ. กิตติพงษ์ อุดมดำรงกุล

แม้ว่าโรคมะเร็ง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย แต่ก็มีผู้ป่วยโรคมะเร็งหลายคนมีอาการดีขึ้น และยังมีโรคมะเร็งหลายชนิดที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำให้มีผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตั้งแต่เนิ่น ๆ บวกกับความก้าวหน้าของเครื่องมือในการตรวจมะเร็งต่าง ๆ เช่น สารบ่งชี้มะเร็ง การตรวจยีนก่อโรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งหากตรวจพบได้ไว และเข้าสู่กระบวนการรักษาเร็ว ก็มีโอกาสสูงในการรักษาให้หายขาด ลดอัตราการเสียชีวิตได้
สารบัญ
ความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง


การตรวจมะเร็ง หรือการคัดกรองมะเร็งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการตรวจพบโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น ซึ่งเป็นช่วงที่เซลล์มะเร็งยังจำกัดอยู่เฉพาะที่และมีขนาดเล็ก ช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาด ได้สูงกว่าการตรวจพบในระยะลุกลาม การตรวจพบเร็วขึ้นยังช่วยลดผลข้างเคียงจากการรักษา เพราะความซับซ้อนในการรักษาน้อยกว่ามะเร็งระยะกึ่งลุกลามหรือระยะสุดท้าย
นอกจากนี้ การตรวจมะเร็ง คัดกรองโรคยังลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ในภาพรวม และช่วยให้ทราบความเสี่ยง เพื่อวางแผนการป้องกันที่เหมาะสม การตรวจพบโรคมะเร็งในระยะต้นยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษามะเร็ง เช่น การทำคีโม หรือการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด ได้อีกด้วย อีกทั้งการเข้ารับการตรวจอย่างสม่ำเสมอยังเป็นการสร้างความตระหนักและใส่ใจสุขภาพของตนเอง และสามารถตรวจพบความผิดปกติก่อนปรากฏอาการ ทำให้สามารถรักษาได้ทันท่วงที การคัดกรองบางชนิดยังช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ เช่น การตัดติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ก่อนที่ติ่งเนื้อนั้นกระจายเป็นเซลล์มะเร็ง การตัดชิ้นเนื้อเยื่อบุปากมดลูกในกรณีพบรอยดรคขั้นสูงหรือป้องกันการกลายเป้นโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น การตรวจคัดกรองจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อสู้กับโรคมะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ
คนกลุ่มไหนบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจมะเร็ง
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง เริ่มจากการซักประวัติ และตรวจร่างกายเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โดยผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งทุกคนควรได้รับการตรวจคัดกรอง โดยเราสามารถแบ่งเป็น กลุ่มความเสี่ยงสูง และกลุ่มความเสี่ยงทั่วไป ดังนี้
1. กลุ่มความเสี่ยงสูง เป็นกลุ่มที่ควรตรวจมะเร็งมากที่สุด เช่น
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งมากกว่า 1 รุ่น โดยเฉพาะโรคมะเร็งชนิดเดียวกัน หรือเป็นมะเร็งตั้งแต่อายุน้อย
- ผู้ที่มีประวัติสัมผัสสารก่อมะเร็ง เช่น สูบบุหรี่เป็นประจำ อาชีพที่สัมผัสมลพิษ สารเคมีเป็นประจำ มีโรคประจำตัวบางอย่าง ได้แก่ โรคไวรัสตับอักเสบ โรคตับแข็ง มีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยงที่ไม่ได้ป้องกัน
2. กลุ่มความเสี่ยงทั่วไป (การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตามเพศและช่วงอายุ) แม้ไม่มีประวัติครอบครัวเรื่องโรคมะเร็ง ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ทุกคนก็เสี่ยงต่อการเกิดโรงมะเร็งได้ การตรวจมะเร็ง หรือตรวจคัดกรองโรคมะเร็งในผู้ที่มีความเสี่ยงปกติ โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย เพื่อค้นหาความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงดังกล่าวและตรวจคัดกรองตามคำแนะนำของสมาคมมะเร็ง โดยเป็นการตรวจคัดกรองตามช่วงวัยที่เหมาะสม อาทิ
- ผู้หญิงอายุ 25-65 ปี ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap smear หรือ HPV test) ตามคำแนะนำแพทย์
- ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมตามคำแนะนำแพทย์
- ผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากและลำไส้ใหญ่
- ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป (ทั้งชายและหญิง) ควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (เช่น ตรวจอุจจาระ ส่องกล้อง) ตามคำแนะนำแพทย์
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยสามารถพูดคุยปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองเพิ่มเติมภายหลังจากทราบข้อดี ข้อเสียของการตรวจแต่ละชนิด
วิธีการตรวจมะเร็งและวินิจฉัยโรค


ปัจจุบันการตรวจโรคมะเร็ง หรือ ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งสามารถทำได้หลายวิธี และไม่ยุ่งยากเหมือนในอดีต การตรวจแต่เนิ่น ๆ มีความสำคัญอย่างมาก เพราะช่วยให้รักษาได้ทันและเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดสูงขึ้น
1.วิธีตรวจมะเร็งด้วย Tumor Marker ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งหาสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor Marker) เป็นการตรวจสารชีวโมเลกุลที่ถูกสร้างจากเซลล์มะเร็งเอง และหลั่งออกมาในกระแสเลือดหรือสารคัดหลั่งอื่น ๆ ของร่างกาย มักตรวจมะเร็งเพื่อหาแนวโน้มหรือความเสี่ยงที่อาจจะเป็นมะเร็ง การตรวจด้วยวิธีจะเป็นการตรวจเลือดหามะเร็ง โดยสารบ่งชี้มะเร็ง (tumor marker) ที่ตรวจได้ เช่น AFP สารบ่งชี้มะเร็งตับ CEA สารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ใหญ่ PSA สารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก CA-15-3 สารบ่งชี้มะเร็งเต้านม และ CA125 สารบ่งชี้มะเร็งรังไข่
2.วิธีตรวจมะเร็งจากยีนถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ป่วยโรคมะเร็งประมาณร้อยละ 5 เกิดจากการรับยีนก่อโรคมะเร็ง มาจากพ่อหรือแม่ ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้แม้อายุน้อย และก่อเกิดดรคมะเร็งหลายชนิดในคนๆหนึ่ง เราสามารถตรวจคัดกรองยีนก่อโรคมะเร็งทางพันธุกรรมได้จากเลือดหรือเซลล์จากเยื่อบุกระพุ้งแก้ม โดยมีชุดการตรวจที่มีบริการ ดังนี้
- ชุดการตรวจคัดกรองหาความเสี่ยงโรคมะเร็งจากยีน หรือพันธุกรรม ที่สามารถวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมของยีน 70 ยีน ครอบคลุมมะเร็ง 10 ชนิด ถือว่าเป็นการตรวจหาความผิดปกติเชิงรุกของยีนในร่างกายลงลึกถึงระดับดีเอ็นเอ สามารถตรวจหาความเปลี่ยนแปลงหรือการกลายพันธุ์ของยีนได้อย่างแม่นยำ ที่สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งต่าง ๆ เช่น ยีน BRCA1, BRCA2 ที่สัมพันธ์กับโรคมะเร็งเต้านมและ มะเร็งรังไข่ ยีน APC ที่สัมพันธ์กับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
- ชุดการตรวจคัดกรองหาความเสี่ยงโรคมะเร้งจากยีน 10 ยีน ครอบคลุมมะเร็ง 3 ชนิด ที่พบได้บ่อย ได้แก่ เพศชาย ครอบคลุมโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ในเพศหญิง ครอบคลุมโรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งรังไข่และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
3. ตรวจมะเร็ง (ตรวจคัดกรองมะเร็ง) โดยเครื่องมือพิเศษขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง เช่น
- ผู้หญิงตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยอัลตราซาวด์เต้านม (Ultrasound Breast) และ ดิจิตอลแมมโมแกรม ตรวจมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Pap Smear และ HPV DNA Testing
- ผู้ชายตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก ด้วยวิธีตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง (PSA และ Free PSA) และอัลตราซาวด์ หรือ MRI (เมื่อจำเป็น)
- ตรวจมะเร็งปอด ด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์รังสีต่ำ (Low-Dose CT Lung Screening) ในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป (โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่จัดหรือมีประวัติเสี่ยง)
- ตรวจมะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น (Gastroscopy)
- ตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
- ตรวจมะเร็งตับ ด้วยการตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง (PIVKA-II & AFP) และ อัลตราซาวด์ตับ

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง
โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง จะครอบคลุมการตรวจร่างกาย การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง และการตรวจภาพถ่ายทางการแพทย์ ได้แก่
รายการตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้ชาย
ก่อนตรวจมะเร็งจะมีการให้คำปรึกษาเบื้องต้น และหลังการตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางโรคมะเร็ง ประเมินความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เกี่ยวเนื่องกับการเกิดโรคมะเร็ง โดยคุณผู้ชายมีโปรแกรมตรวจมะเร็ง ดังนี้
- เอกซเรย์ปอดและหัวใจ (Chest X-ray)
- ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องทั้งหมด (Ultrasound Whole Abdomen)
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count)
- ตรวจการทำงานของตับ ได้แก่ SGOT (AST) SGPT (ALP) และ Alkaline Phosphatase
- ตรวจปัสสาวะ (Urine Examination)
- ตรวจอุจจาระหาความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Stool Examination with Occult Blood)
- ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg)
- ตรวจหาเชื้อและภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบซี HCV DUO (Anti - HCV + HCV core Ag)
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (ชนิดใหม่) PIVKA-II AFP (GAAD Score)
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ (CEA)
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อนและท่อน้ำดี (CA19-9)
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากได้แก่ Total PSA และ Free PSA
รายการตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้หญิง
สำหรับผู้หญิง จะมีการให้คำปรึกษาก่อน และหลังการตรวจมะเร็งโดยแพทย์เฉพาะทางโรคมะเร็ง ประเมินความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เกี่ยวเนื่องกับการเกิดโรคมะเร็ง เช่นเดียวกัน โดยคุณผู้หญิงมีรายการตรวจ ดังนี้
- เอกซเรย์ปอดและหัวใจ (Chest X-ray)
- ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องทั้งหมด (Ultrasound Whole Abdomen)
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count)
- ตรวจการทำงานของตับ ได้แก่ SGOT (AST) SGPT (ALP) และ Alkaline Phosphatase
- ตรวจปัสสาวะ (Urine Examination)
- ตรวจอุจจาระหาความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Stool Examination with Occult Blood)
- ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg)
- ตรวจหาเชื้อและภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบซี HCV DUO (Anti - HCV + HCV core Ag)
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (ชนิดใหม่) PIVKA-II AFP (GAAD Score)
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ (CEA)
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อนและท่อน้ำดี (CA19-9)
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม (CA15-3)
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ (CA125)
- ตรวจภายใน และมะเร็งปากมดลูก โดยสูตินรีแพทย์
- ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร่วมกับตรวจหาเชื้อเอชพีวีระดับ DNA ด้วยวิธี Path Tezt และHPV DNA Test
- ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์เต้านม (อายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป)
เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์เพื่อตรวจมะเร็ง
คุณควรพบแพทย์เพื่อตรวจมะเร็งเมื่อคุณมีอาการหรือสัญญาณที่น่าสงสัย ได้แก่
- มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง เช่น ไฝหรือปานที่เปลี่ยนขนาด รูปร่าง สี หรือมีเลือดออก แผลที่ไม่หาย หรือผิวหนังหนาตัวผิดปกติ
- มีก้อนเนื้อหรืออาการบวม คลำเจอก้อนเนื้อที่เต้านม ต่อมน้ำเหลือง หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
- น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุ
- มีไข้ต่ำ ๆ หรืออ่อนเพลียเรื้อรัง
- มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่าย เช่น ท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง อุจจาระมีเลือดปน ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ หรือปัสสาวะมีเลือดปน
- ไอเรื้อรังหรือเสียงแหบ
- กลืนลำบาก
- มีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดออกจากช่องคลอดที่ไม่ใช่ประจำเดือน เลือดกำเดาไหลบ่อย หรือมีเลือดออกในปัสสาวะหรืออุจจาระ
- ปวดเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการปวดที่ไม่หายไปหรือแย่ลง
ตรวจมะเร็งช่วยป้องกัน และรักษาอย่างทันท่วงที
การตรวจมะเร็ง ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีความกังวลว่าจะเป็นมะเร็งนั้นนับว่ามีความสำคัญอันดับแรก ที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรค ขณะเดียวกันหากตรวจพบมะเร็งระยะเริ่มแรก ทำให้การรักษาเป็นไปได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และทันท่วงที โดยศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลนครธน ให้บริการตรวจวิเคราะห์มะเร็งเจาะลึกถึงระดับยีน ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งได้ตรงตามชนิด ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ช่วยให้ค้นพบมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง หรือมีประวัติสูบบุหรี่ เพื่อให้สามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็ว
ช่องทางติดต่อโรงพยาบาลนครธน:
- - Website : https://www.nakornthon.com
- - Facebook : Nakornthon Hospital
- - Line : @nakornthon
- - Tel: 02-450-9999 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
แพ็กเกจ/โปรโมชั่น
บทความทางการแพทย์ศูนย์มะเร็ง