ปวดท้องน้อยในผู้หญิง สัญญาณเตือนของโรคทางนรีเวช
ศูนย์ : ศูนย์สุขภาพสตรี
บทความโดย : พญ. จุฑาภรณ์ อุทัยแสน
ปวดท้องน้อย เป็นอาการที่ผู้หญิงหลายคนมักจะมองข้ามอยู่บ่อยครั้ง เพราะคิดว่าเป็นอาการปวดท้องทั่วๆ ไป คล้ายกับการปวดประจำเดือนที่ไม่นานก็หาย แต่หากปวดเฉียบพลัน ปวดท้องประจำเดือนมาก และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ปวดบ่อยแบบไม่ทราบสาเหตุ จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำอื่นได้ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคทางนรีเวชได้
อาการปวดท้องน้อยเป็นอย่างไร?
อาการปวดท้องน้อย (pelvic pain) ในผู้หญิง เป็นอาการปวดตั้งแต่บริเวณใต้สะดือลงไปจนถึงหัวหน่าว มีทั้งการปวดแบบเฉียบพลัน และการปวดแบบเรื้อรัง อาจจะสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับประจำเดือนได้ แต่อาการปวดท้องอย่างไรที่ควรพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจหาโรคเพิ่มเติม
- ปวดเฉียบพลัน ทันที และมีอาการรุนแรง
- อาการปวดไม่ดีขึ้นหลังจากทานยาแก้ปวด
- อาการปวดที่เป็นนานเรื้อรัง รบกวนชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเป็นมานานกว่า 6 เดือน
- อาการปวดที่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะแสบขัด มีประวัติมีบุตรยาก
- ปวดท้องประจำเดือนมาก และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งสาเหตุของอาการปวดนั้นมีได้ทั้งจากโรคเกี่ยวกับลำไส้ ทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ กล้ามเนื้อ หรืออาจเป็นมาจากโรคทางนรีเวช เช่น เนื้องอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลุกเจริญผิดที่ ถุงน้ำ (cyst) รังไข่
โรคทางนรีเวชที่พบบ่อยและเกี่ยวข้องกับอาการปวดท้องน้อย
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการปวดท้องประจำเดือน โดยเฉพาะในคนที่มีประวัติมีบุตรยาก ปวดเรื้องรังนานกว่า 6 เดือน ปวดหน่วงขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือ มีคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ระหว่างมีประจำเดือน กลุ่มโรคเยื่อบุโพรงมดลุกเจริญผิดที่ยังรวมถึงโรค chocolate cyst อีกด้วย
เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri)
อาการปวดมักเกิดจากการที่ก้อนเนื้องอกใหญ่จนมีการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง การบิดขั้วของเนื้องอกจะทำให้เกิดการปวดที่รุนแรง ปวดท้องประจำเดือน หรือ มีเนื้อตายภายในเนื้องอก
เนื้องอก หรือ ถุงน้ำรังไข่ (Ovarian tumor)
อาจเกิดการบิดขั้ว แตก รั่ว ของถุงน้ำ จะทำให้เกิดอาการปวดท้องแบเฉียบพลัน อาจมีเลือดออกในช่องท้อง หรือ ติดเชื้อได้ หากถุงน้ำมีขนาดใหญ่มากจะทำให้เกิดอาการแน่นท้อง จุก เสียด ทานอาหารอิ่มง่ายได้
การตรวจและการวินิจฉัย
- การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
- การตรวจภายใน
- การตรวจด้วยอัลตราซาวด์
- การส่องกล้องเพื่อดูพยาธิสภาพบริเวณอุ้งเชิงกราน
การรักษา
- การให้ยาแก้ปวด
- การรักษาด้วยฮอร์โมน
- การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง หรือ การผ่าตัดส่องกล้อง
ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง |
ผ่าตัดส่องกล้อง |
|
---|---|---|
ข้อดี | ใช้ในกรณีเนื้องอกขนาดใหญ่มาก หรือมีการลุกลามอวัยวะข้างเคียง |
|
ข้อเสีย |
|
|
อย่างไรก็ตาม หากเกิดอาการปวดท้องน้อยขึ้นมา ทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง ถ้ารักษาเบื้องต้นด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น ควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด และการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการช่วยคัดกรองโรคทางนรีเวชเหล่านี้ หากตรวจพบได้เร็ว รักษาได้ไว ก็จะช่วยให้คุณกลับมามีสุขภาพที่ดีเหมือนเดิม
ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
บทความทางการแพทย์ศูนย์สุขภาพสตรี